วัยทารก
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
วัยทารกเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างรวดเร็วมากกว่าวัยอื่นๆของชีวิต อวัยวะที่สำคัญที่สุดคือ “สมอง” ถ้าการเจริญเติบโตหยุดชะงัก สมองก็จะไม่ดีด้วย และเป็นการยากที่จะแก้ไขให้ปกติ วัยทารกเป็นวัยที่มีการติดเชื้อโรคง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันโรคยังไม่สมบูรณ์ พัฒนาการของทารกแต่ละคนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาทซึ่งเป็นผลมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจ
ทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูโอบอุ้ม เอาใจใส่ ได้รับการตอบสนองที่เหมาะสมจะทำให้เป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี เป็นมิตร ในทางตรงกันข้าม ถ้าทารกถูกทอดทิ้งจะมีลักษณะที่เงียบเหงา เฉยเมย ไม่สนใจใคร ฉะนั้นการเสริมสร้างพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจของเด็ก ควรให้มีการสัมผัสโอบอุ้ม พูดคุยด้วยท่าทีที่เป็นมิตร ร้องเพลงให้ฟัง เป็นต้น
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับความรัก ความอบอุ่น การเลี้ยงดูเอาใจใส่ที่ดี จะทำให้เด็กรู้สึกไว้วางใจต่อคนรอบข้าง มีทัศนคติที่ดี ทำให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ดี วัยทารกเป็นวัยเริ่มต้นของพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดีจะทำให้เขาเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านสติปัญญา
เด็กวัยทารกเริ่มเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้จากการใช้อวัยวะสัมผัสต่างๆ โดยทารกจะมีพฤติกรรมซ้ำๆ ในระยะแรกและมีการลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ จนทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ ทั้งนี้พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของวัยทารกจะมีพื้นฐานเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ ผู้ใกล้ชิด ที่จะส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการในทางสร้างสรรค์
วัยก่อนเรียน
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
เด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่มีความต้องการอะไรหลายๆอย่าง ต้องการความเป็นอิสระ อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย ช่างจินตนาการ ทำให้เด็กแสดงออกโอยการซักถาม ผู้ใหญ่ควรให้ความสนใจและอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านความคิดและการกล้าแสดงออกในวัยต่อไป ต้องการความเป็นตัวของตัวเอง สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต วัยนี้เริ่มมีทักษะในการเคลื่อนไหว รู้จักควบคุมอวัยวะต่างๆ ได้ดีขึ้น ถึงแม้จะไม่ค่อยคล่องตัวในระยะแรก แต่เมื่อทำบ่อยๆ ก็จะเกิด ความชำนาญ
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจ
เด็กวัยนี้มักแสดงอารมณ์อย่างเปิดเผย ไม่ปิดบัง แปรปรวนง่าย หงุดหงิด โกรธง่ายหายเร็ว กลัวในสิ่งที่ไม่มีเหตูผล อิจฉาเมื่อรู้สึกว่าถูกแย่งความรักไป มีความสงสัย อยากรู้อยากเห็น
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
เด็กวัยนี้เริ่มออกจากสังคมบ้านเข้าสู่สังคมโรงเรียน เริ่มรู้จักเล่นและคบเพื่อน เรียนรู้ที่จะปรับตัวเด็กวัยนี้ให้คามสำคัญที่จะปฏิบัติตามระเบียบ และกติกาของโรงเรียน ดังนั้นพัฒนาการทางสังคมของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ ครู อาจารย์ และเพื่อนวัยเดียวกันจะมีบทบาทในการวางพื้นฐานพัฒนาการทางสังคมขั้นต่อไป
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านสติปัญญา
เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย จึงทำให้เด็กแสดงออกโดยการซักถาม ผู้ใหญ่ควรให้ความสนใจและตอบคำถาม โดยอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ ให้เด็กเข้าใจ ไม่ควรแสดงอาการรำคาญ ดุด่า ว่ากล่าว หรือไม่พอใจ เพราะอาจจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านความคิดและความกล้าแสดงออกของเด็กในวัยต่อไป
วัยเรียน
เด็กอายุประมาณ 6-10 ปี เป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของเด็ เพราะเป็นระยะที่เด็กจะเข้าโรงเรียน วัยนี้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทุกๆด้าน
-
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
อัตราการเจริญเติบโตจะช้าลงเล็กน้อยแต่ยังเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะขยายทางส่วนสูงมากกว่าส่วนกว้าง รูปร่างเปลี่ยนเข้าสู่ลักษณะผู้ใหญ่ อวัยวะภายในระบบไหลเวียนเลือดเจริญเติบโตเกือบเต็มที่ เริ่มมีฟันแท้ขึ้น วัยนี้มีพลังงานมากจึงไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบทำกิจกรรมหลายๆอย่าง
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจ
เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ไปในทางที่ดีขึ้น รู้จักวิธีระงับความโกรธ เลิกกลัวสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นมากลัวสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง เช่น กลัวไม่มีเพื่อน กลัวเรียนไม่ดี อารมณ์ไม่แน่นอน หงุดหงิด ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ เริ่มรู้จักป้องกันตนเอง เช่น เมื่อถูกถามมักตอบว่าไม่ทราบ ไม่พยายามตอบ มีความอยากรู้อยากเห็น รู้สึกว่าตนเป็นผู้ใหญ่ รักพ่อแม่และสมาชิกในครอบครัว
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
เด็กมีสังคมกว้างขึ้นเพราะรู้จักบุคคลนอกครอบครัว เด็กจะปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นๆ ได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการอบรมของครอบครัว กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลมากขึ้น
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านสติปัญญา
เด็กวัยนี้มีการรับรู้ มองเห็นความแตกต่างของสิ่งของ มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบแก้ปัญหาเอง สนใจธรรมชาติรอบตัว มีความสนใจระยะสั้น ใช้ภาษาแสดงความรู้สึกได้ดีขึ้น มีความรับผิดชอบ ช่างสังเกต พยายามทำสิ่งที่ตั้งใจให้สำเร็จ มีความคิดสร้างสรรค์ สนใจสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ

วัยรุ่น
วัยนี้จึงครอบคลุมอายุโดยประมาณ คือ เด็กหญิง ระหว่างอายุ 10 – 20 ปี และเด็กชายระหว่างอายุ 12 – 22 ปี เนื่องจากช่วงวัยดังกล่าวค่อนข้างยาว ทางการแพทย์และจิตวิทยาพัฒนาการจึงแบ่งช่วงดังกล่าว ออกเป็น 2 – 3 ระยะ (แล้วแต่หลักเกณฑ์ของผู้เชี่ยวชาญ) เนื่องจากระยะต้นกับระยะปลายของวัย เด็กจะมีการเจริญเติบโต ทั้งกายและจิตใจ อารมณ์ แตกต่างกันมาก ในที่นี้จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
วัยรุ่นตอนต้น
เด็กผู้หญิงอยู่ในช่วงอายุ 10 – 14 ปี เด็กผู้ชายอยู่ในช่วงอายุ 12 –16 ปี ในระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลง คือ
มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น เด็กหญิงจะมีเต้านมใหญ่ขึ้น มีประจำเดือนมีการสร้างฮอร์โมนอีสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน มีขนตามรักแร้และอวัยวะเพศภายนอกมีรูปร่างสูงใหญ่
ค่อนข้างหลงตัวเอง (Narcissistic phase)
มีความเพ้อฝัน (Magical Thinking)
มีความเป็นอิสระ (Emancipation) แต่ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ ยังสนใจเพศเดียวกัน
วัยรุ่นตอนกลาง
เด็กผู้หญิงอยู่ในช่วง 14 –18 ปี เด็กผู้ชายในช่วงอายุ 16 – 20 ปี ในระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ
เป็นระยะที่ดื้อรั้น โมโหง่าย มักจะมีความขัดแย้งกับพ่อแม่สูง
เพื่อนมีอิทธิพลสูง เริ่มสนใจเพศตรงข้าม การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเริ่มสมบูรณ์เต็มที่
เป็นระยะที่เริ่มทดลองเกี่ยวกับเพศ ซึ่งถ้าขาดความรู้และการป้องกันจะก่อให้เกิดปัญหาตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งโรคเอดส์ ยังคงมีความคิดเพ้อฝัน วัยรุ่นระยะนี้จึงมีปัญหามากและบ่อยที่สุด
วัยรุ่นตอนปลาย
เด็กหญิงอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 – 20 ปี เด็กผู้ชายอยู่ในช่วง 20 – 22 ปี เป็นระยะที่เจริญเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เต็มที่ ดังนั้นระยะนี้จึงมีลักษณะ
รู้จักบทบาทของเพศเองเต็มที่ มีความเป็นอิสระเต็มที่ในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ค่อนข้างยอมรับการให้คำแนะนำได้ง่ายกว่าวัยต้นๆให้ความสนใจต่อคำแนะนำต่างๆ รวมทั้งเรื่องการป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้าน ร่างกาย ด้านจิตใจหรืออารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ซึ่งพอจะกล่าวได้ ดังนี้
-การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ในช่วงวัยรุ่นเด็กหญิง เด็กชาย จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านร่างกายทั้งรูปร่าง เสียง ความสูง และน้ำหนัก กล่าวคือ ทั้งสองเพศจะมีความสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างเห็นได้ชัด เด็กหญิงจะเริ่มมีประจำเดือน สะโพกขยายออก เอวคอด หน้าอกโตขึ้น เสียงหวานแหลม มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ
ส่วนเด็กชายจะเริ่มมีน้ำอสุจิ มีการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง มีหนวดเครา มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ รักแร้ เสียงแตกพร่า กล้ามเนื้อแข็งแรง หน้าอกและไหล่กว้างขึ้น วัยรุ่นชาย จะตัวสูงขึ้นและน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อแข็งแรง หน้าอกและไหล่กว้างขึ้น มีหนวดเครา มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศและรักแร้ วัยรุ่นหญิง จะตัวสูงขึ้นและ น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สะโพกขยาย เอวคอด และ หน้าอกโตขึ้น
-การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์
จากการเปลี่ยนด้านร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกวิตกกังวล ในรูปร่างหน้าตาของตน และยิ่งเกิดปัญหาสิวหนุ่มสิวสาว ความวิตกกังวลก็จะยิ่งมีมากขึ้น พ่อแม่ ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษา ความสะอาดใบหน้า สำหรับลูกสาววัยรุ่น แม่ควรแนะนำ วิธีดูแลรักษาความสะอาดในช่วงของการมีประจำเดือนด้วย ลักษณะทางอารมณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัยรุ่น คือ การมีอารมณ์ที่เรียกว่า พายุบุแคม คือ มีความรุนแรงแต่ อ่อนไหวไม่มั่นคง ถ้าต้องการจะทำอะไรก็ต้องทำให้ได้ ถ้าถูกขัดขวางจะตอบโต้อย่างรุนแรง แต่ความต้องการนั้น จะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย หันเหไปสู่ความต้องการความสนใจ ใหม่ ๆ อยู่เสมอ พ่อแม่ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ของวัยรุ่น รู้จัก โอนอ่อนผ่อนตามอย่างเหมาะสม เมื่อเห็นน้ำเชี่ยวก็อย่าเอาเรือ ไปขวาง แต่จงใช้ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ เป็นเครื่องค้ำจุน ให้วัยรุ่น สามารถผ่าน พ้นอันตราย อันเกิดจากลักษณะทางอารมณ์ ของวัยนี้ไปได้อย่างปลอดภัย
การเพิ่มความต้องการทางเพศ
การเพิ่มความต้องการทางเพศ ทำให้วัยรุ่นเกิดความ สนใจในเพื่อนต่างเพศ ต้องการให้ตนเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ ของต่างเพศ ต้องการความรู้เพศศึกษา และการแนะนำในการเตรียม ตัวเข้าสังคมวัยรุ่นชายและหญิง
-การเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา
ความเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญาของวัยรุ่น จะพัฒนาขึ้น อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับด้านร่างกาย ขนาดของมันสมองจะ ขยายออกมากขึ้น วัยรุ่นจึงเป็นผู้ชอบคิด อยากรู้อยากเห็น ช่างซักถาม ใช้เหตุผล และแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ วัยรุ่นจะชอบ แก้ปัญหา และตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบ บิดามารดาต้องให้การสนับสนุน ปล่อยให้ลูกได้ใช้ความคิดเป็นของตนเอง และความคิดสร้างสรรค์ก็จะสูงขึ้นได้
วัยผู้ใหญ่
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
บุคคลในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีการพัฒนาทางร่างกายอย่างเต็มที่ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ร่างกายสมบูรณ์ มีการพัฒนาความสูงมาจากวัยรุ่นและจะมีความสูงที่สุดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นนี้ รวมทั้งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน มีการพัฒนาอย่างเต็มที่เช่นกัน ในวัยนี้ร่างกายจะมีพลัง คล่องแคล่วว่องไว การรับรู้ต่าง ๆ จะมีความสมบูรณ์เต็มที่ จนกระทั่งเข้าสู่วัยกลางคนความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้จะลดลง
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์
วัยผู้ใหญ่จะมีการควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีความมั่นคงทางจิตใจดีกว่าวัยรุ่น คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น รู้สึกยอมรับผู้อื่นได้ดีขึ้น มีพัฒนาการด้านอารมณ์รัก ได้ในหลายรูปแบบ การเก็บกด (Impulsiveness) น้อยลง แต่จะใช้การตอบสนองด้วยเหตุผลทั้งกับตนเองและผู้อื่นมากขึ้น
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
วัยนี้จะให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อนร่วมวัยลดลง จำนวนสมาชิกในกลุ่มเพื่อนจะลดลง แต่สัมพันธภาพในเพื่อนที่ใกล้ชิดหรือเพื่อนรักยังคงอยู่และจะมีความผูกพันกันมากกว่าความผูกพันในลักษณะของคู่รักและพบว่ามักเป็นในเพื่อนเพศเดียวกัน (Papalia and Olds, 1995) การสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มใช้ชีวิตครอบครัวกับคู่ของตนเอง และเกิดการปรับตัวกับบทบาทใหม
-การเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา
วัยผู้ใหญ่มีพัฒนาการทางความคิดสติปัญญาอยู่ในระดับ Formal operations ซึ่งเป็นขั้นสูงที่สุดของพัฒนาการ มีความสามารถทางสติปัญญาสมบูรณ์ที่สุดคือคุณภาพของความคิดจะเป็นระบบ
ผู้ใหญ่จะมีความคิดเปิดกว้าง ยืดหยุ่นมากขึ้น และรู้จักจดจำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี
วัยสูงอายุ
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายโดยทั่วไปของวัยนี้จะเป็นไปในทิศทางของความเสื่อม อย่างไรก็ตามจะมีความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นอย่างมากในสภาพในสภาพของความเสื่อมแม้แต่ในคนเดียวกันก็ยังมีความแตกต่างในอัตราของความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ดั้งนี้
1.1 โฉมภายนอก มีการเปลี่ยนแปลงตามวัยเช่น ผิวหนังเหี่ยวย่นมีจุดตกกระเพิ่มขึ้น ผมจะบางและจะเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขาว หลังโกง การเคลื่อนไหวเชื่องช้า พละกำลังน้อยลง
1.2 อวัยวะเกี่ยวกับการรับความรู้สึก ดูเหมือนหน้าที่ได้รับความรู้สึกจะเป็นอวัยวะหนึ่งที่เสื่อมเป็นอันดับแรกในระยะเริ่มชรา ผนังเส้นโลหิตแดงในหูจะแข็งตัวทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน เสียงที่มักไม่ได้ยินก่อนคือเสียงแหลมหรือเสียงที่มีความถี่สูง
1.3 เสียง การเปลี่ยนแปลงของเสียงมีสาเหตุหนึ่งมาจากการแข็งตัวและการขาดความยืดหยุ่นของกระดูกอ่อนบริเวณกล่องเสียงทำให้มีน้ำเสียงสูงแต่ไม่มีพลังและเปลี่ยนแปลงได้น้อย
1.4 ฟัน ฟันธรรมชาติในผู้สูงอายุจะเปลี่ยนไป โดยเฉพาะส่วนมากมักจะมีเหงือกร่น รากฟันโพล่พ้นขอบเหงือก ซึ่งอาจทำให้มีอาการเสียวหรือผุได้ง่า
1.5 ภาวะสมดุลร่างกาย (homeostasis) โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะพยายามปรับอุณหภูมิและสภาพทางชีวเคมีให้เกิดความสมดุลตลอดเวลา
1.6 ระบบประสาท เซลล์ประสาทจะมีอายุได้นาน แต่เมื่อมีอาการเสื่อมสลายแล้ว จะไม่มีการแทนทีใหม่ อัตราการเสื่อมสลายหรือการตายของเซลล์ประสาทโดยเฉลี่ยมีประมาณ 1 ต่อปีหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว
1.7 กระดูกกระดูกในผู้สูงอายุและผุกร่อน เป็นผลให้กระดูกหักได้ง่าย
1.8 กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะเล็กและลีบลง จะมีไขมันเข้าไปแทรกในกล้ามเนื้อ
1.9 ระบบทางเดินอาหาร อาหารที่ทานเข้าไปจะย่อยและดูดซึมได้ช้าลง
1.10 ระบบการไหลเวียนโลหิต ผนังเส้นโลหิตแดงแข็งและขาดความยืดหยุ่น
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์
โดยธรรมชาติแล้ว วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความสงบเยือกเย็น หมดความกระตือรือร้นในชีวิตเป็นวัยที่ต้องการความสงบ ต้องการพักผ่อน แต่สภาพสังคมในปัจจุบันผู้สูงอายุต้องเชิญกับเหตุการณ์ที่บีบคั้นประสาทและจิตใจมากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของคนวัยนี้ วัยนี้เป็นวัยที่ต้องปรับตัวต่อโลกภายนอกและปรับตัวต่อการสูญเสียตามวัย เช่น สูญเสียความสามารถทางร่างกาย สูญเสียมรรควิธีในการปลดปล่อยแรงขับพ้นฐาน สูญเสียในวัฒนธรรมที่สนใจแต่อนาคตของคนหนุ่มสาว ผู้สูงอายุมักหวาดกลัวความเจ็บไข้ได้ป่วย กลัวความตาย กลัวความสูญเสียเพื่อน ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะให้ผู้สูงอายุเหล่านี้แสดงความแจ่มใสร่าเริงเป็นนิจสินได้ในเมื่อจิตใจของเขาเต็มไปด้วยความวิตกกังวล นอกจากนี้ผู้สูงอายุมักจะยึดถือตนเองเป็นส่วนใหญ่นิยมชมชอบแต่เรื่องและความคิดสมัยตนเอง จึงทำให้เข้ากับวัยอื่น ๆ ได้ยากโดยเฉพาะกับวัยรุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้สูงอายุเกิดความอ้างว้าง ยิ่งถ้าถูกทอดทิ้ง หรือปล่อยให้อยู่ตามลำพังสามีภรรยา เพราะลูกหลานต่างแยกย้ายไปมีครอบคัวหรือไปประกอบอาชีพตามความถนัด พัฒนาการด้านอารมณ์ของผู้สูงอายุจะขึ้นอยู่กับลักษณะและรูปแบบที่เป็นมาตั้งแต่เดิมของบุคลิกภาพจะยังคงไว้ได้ รูปแบบบุคลิกที่มนุษย์ปรับตนเองเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแบ่งได้ดังนี้
1. บุคลิกแบบผสมผสาน (integrated) เป็นลักษณะของบุคคลที่ยังรักษาความเป็นตัวของตัวเองได้เสมอ พอใจในชีวิตที่ผ่านมาและพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ยอมรับสภาพความจริงและบังคับตัวเองได้ ปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
2.บุคลิกแบบต่อต้าน (armoured หรือ defended) เป็นลักษณะของความสูงอายุที่พยายามต่อสู้กับความเสื่อมถอยหวาดหวั่นของชีวิตแบบเป็นลักษณะต่าง ๆ
3.บุคลิกภาพเฉยชาและพึ่งพาบุคคลอื่น กลุ่มนี้ต้องการให้ความต้องการทางอารมณ์ของตนได้รับการตอบสนอง รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถช่วยตนเองได้ถ้าปราศจากผู้ช่วยเหลือ
4.บุคลิกภาพแบบการผสมผสาน (unintegrated or disorganized) จะมีความเสื่อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ขาดการควบคุมอารมณ์ แสดงออกถึงความบกพร่องทางด้านความคิดอ่านและภาวะจิตใจอย่างเห็นได้ชัด จะยังคงอยู่ในสังคมได้ แต่จะมีพฤติกรรมและความพึ่งพอใจต่อชีวิตอยู่ในระดับต่ำ
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการใช้ชีวิตทางสังคมของคนวัยนี้คือ การมีเวลาว่างมากขึ้นทำให้สามารถกระทำกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหยอนใจได้มากขึ้น เช่น การเดินทางท่องเที่ยว การปลูกต้นไม้ เข้ากลุ่มศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นต้น แต่จะมีข้อจำกัดในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เนื่องจากบทบาททางสังคมลดลง เช่น การหยุดประกอบอาชีพ การตายของญาติ เพื่อนฝูงคู่สมรส และการเสื่อมของสุขภาพ ประกอบกับวัยสูงอายุจะมีความสนใจตนเองเพิ่มขึ้น จะสนใจบุคคลอื่นลดลง ในวัยนี้อาจจะมีการย้ายที่อยู่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ กันบางคนอาจจะรู้สึกว่าบ้านที่อยู่ปัจจุบันนี้หลังใหญ่ไป ทำความสะอาดลำบาก บางคนก็ขายบ้านแล้วย้ายไปอยู่ใกล้ ๆ กับลูกคนใดคนหนึ่ง บางคนก็ย้ายออกไปอยู่ในสถานที่อากาศดีกว่าเดิม หรือย้ายไปอยู่ที่สถานสงเคราะห์คนชรา การย้ายที่อยู่ต้องการปรับตัวเสมอ ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้อาศัยในการอาศัยอยู่ในเมืองใหม่j
ผู้สูงอายุที่ไม่ได้อาศัยอยู่บ้าพักคนชรา มักต้องอาศัยลูกหลานเกื้อกูล ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นก็ต้องพึ่งพิงครอบครอบมากขึ้นด้วย ความสัมพันธภาพกับบุตรหลานจะราบรื่นหรือไม่ขึ้นอยู่อย่างมากกับสัมพันธภาพที่เขาให้กับลูกเมื่อลูกยังเล็ก ถ้าสัมพันธภาพเคยเป็นมาแล้วด้วยดีก็ไม่สู้จะยากลำบากมากนัก ภาวะการเป็นหม้ายพบได้เสมอในวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในสตรี เนื่องจากชายมักอายุสั้นกว่าหญิง การปรับตัวต่อการตายของคู่สมรสนั้นยากเป็นพิเศษในวัยสูงอายุ
-การเปลี่ยนแปลงทางด้านสติปัญญา
เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ สมองฝ่อและมีน้ำหนักลดลง มีเลือดมาเลี้ยงสมองน้อยลง เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นและจำนวนเซลล์ลดลงตามอายุ ทำให้สมองเสื่อม ความจำเสื่อมโดยเฉพาะความจำในเหตุการณ์ปัจจุบัน (recent memory) และความจำเฉพาะหน้า (immediate memory) แต่ความจำในอดีต (remote memory) จะไม่เสีย (ศรีธรรม, 2535) แต่การประสานงานระหว่างประสาทสัมผัสกับความคิดอ่านจะเชื่องช้าลง ผู้สูงอายุจึงมีประสิทธิภาพในอันที่จะใส่ใจต่อสิ่งเร้าไม่ไวหรือดีเท่าคนอายุน้อย และมีลักษณะความคิดไม่ยืดหยุ่น การแก้ปัญหาของผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจกับสิ่งที่ไม่ใช่ข้อมูล หรือส่วนที่ไม่ตรงเป้าหมายของปัญหานั้นๆ ผู้สูงอายุมีความยุ่งยากลำบากในการทำความเข้าใจกับสิ่งที่จะต้องเรียน และบกพร่องในด้านที่จะเก็บข้อมูลไว้ในความจำระยะสั้นให้ยาวนานเพียงพอ เพื่อฝังรอยเป็นความจำถาวร การให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยให้ช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อทำความเข้าใจกับข้อมูลจะช่วยได้มาก จะเห็นว่าผู้สูงอายุมักหันมาสนใจทางศาสนา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น