อุปกรณ์ สำหรับเชื่อมต่อเครือข่าย และรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย
อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเครือข่าย (Connecting
Devices)
เครือข่ายท้องถิ่นอาจจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อในระยะทางที่ไกลขึ้น
เช่น การเชื่อมต่อระหว่างชั้น ระหว่างตึกหรืออาคาร
และรวมถึงการเพิ่มจำนวนสถานีเพื่อใช้งานบนเครือข่าย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพึ่งพออุปกรณ์เครือข่ายที่นำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม เครือข่ายท้องถิ่นจะมีข้อจำกัดด้านระยะทางเป็นสำคัญ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายเพิ่มเติม
ซึ่งในที่นี้ได้มีการแบ่งอุปกรณ์เครือข่ายที่ประกอบด้วยรีพีตเตอร์
และบริดจ์ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
ในขณะที่เร้าเตอร์และเกตเวย์จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายระดับสากล
รีพีตเตอร์/ฮับ (Repeaters/Hub)
อุปกรณ์ฮับหรือรีพีตเตอร์จะทำงานอยู่บนชั้นสื่อสารฟิสิคัลบนแบบจำลอง
OSI
โดยที่รีพีตเตอร์มักจะบรรจุพอร์ตมาให้เพียง
2
พอร์ตด้วยกัน
เพื่อนำมาใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
ซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายด้วยรีพีตเตอร์
อาจเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณชนิดเดียวกัน หรือคนละชนิดก็ได้
ในขณะที่ฮับก็เหมือนกับรีพีตเตอร์ กล่าวคือฮับก็คือรีพีตเตอร์ที่มีหลาย ๆ พอร์ตนั่นเอง
โดยฮับนอกจากสามารถนำมาใช้เป็นศูนย์กลางการรับส่งข้อมูลแล้วยังเป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณในตัว
บริดจ์ (Bridges)
ความสามารถในการทำงานของบริดจ์จะเหนือกว่าการทำงานของรีพีตเตอร์
โดยที่บริดจ์สามารถแบ่งเครือข่ายขนาดใหญ่ออกเป็นเครือข่ายย่อยหรือเป็นเซกเมนต์ย่อย
ๆ ได้ ซึ่งไม่เหมือนกับรีพีตเตอร์ตรงที่เซกเมนต์ย่อยต่าง ๆ
ที่เชื่อมต่อด้วยบริดจ์นั้นจะถือว่าเป็นเครือข่ายคนละวงกัน กล่าวคือมิได้อยู่บน Collision
Domain เดียวกัน
ดังนั้นบริดจ์จึงสามารถลดความคับคั่งของข้อมูลบนเครือข่ายได้
โดยเครือข่ายแต่ละวงนอกจากจะรับส่งข้อมูลภายในวงแลนตัวเองแล้ว
หากต้องการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายก็สามารถกระทำได้
ซึ่งแตกต่างกับฮับที่ทำหน้าที่เพียงแพร่ข่าวสาร
หรือข้อมูลออกไปยังทุกพอร์ตหรือทุกเซกเมนต์ที่เชื่อมต่อ
สวิตช์ (Switch)
อุปกรณ์สวิตช์จะมีลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับบริดจ์
แต่สวิตช์จะมีความแตกต่างกับบริดจ์ตรงที่สวิตช์นั้นจะมีพอร์ตหลายพอร์ตด้วยกัน
ในขณะที่บริดจ์นั้นจะมีเพียงสองพอร์ตเท่านั้น ปัจจุบันสวิตช์ที่ทำงานเช่นเดียวกับบริดจ์จะเรียกว่า
สวิตช์เลเลอร์ 2 และสวิตช์ที่ทำงานเทียบชั้นเร้าเตอร์ก็จะเรียกว่า
สวิตช์เลเยอร์ 3 อย่างไรก็ตาม
หากมองอย่างผิวเผินแล้ว สวิตช์กับฮับจะมีความคล้ายคลึงกันมาก
เร้าเตอร์ (Routers)
เร้าเตอร์ถูกนำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อเครือข่ายหลาย ๆ
กลุ่มเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายแลนด้วยกัน หรือระหว่างเครือข่ายแลนกับแวน
โดยฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญของเร้าเตอร์ก็คือ
การเลือกเส้นทางเพื่อส่งแพ็กเก็ตข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
รวมถึงความสามารถในการเปลี่ยนเส้นทางเดินของข้อมูลในกรณีที่เส้นทางเดิมที่ใช้งานอยู่เกิดข้อขัดข้อง
เกตเวย์ (Gateways)
เกตเวย์สามารถปฏิบัติงานได้ในทุกชั้นสื่อสารบนแบบจำลอง OSI โดยเกตเวย์อนุญาติให้คอมพิวเตอร์บนเครือข่าย
ที่เชื่อมต่อกันที่ใช้โปรโตคอลแตกต่างกัน
รวมถึงสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น พีซีคอมพิวเตอร์
และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถสื่อสารกันได้
กล่าวคือเกตเวย์จะอนุญาตให้เครือข่ายต่างแพลตฟอร์ม
ไม่ว่าจะเป็นด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้สามารถเชื่อมโยงสื่อสารกันได้ เช่น
การเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งอีเทอร์เน็ต โทเค็นริง และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
ด้วยอุปกรณ์เกตย์เวย์
โทโพโลยี คือ ลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายในเชิงกายภาพ
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Topologies)
โทโพโลยีเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างโหนดในลักษณะเชิงกายภาพ
โดยโทโพโลยียังสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบด้วยกันคือ
โทโพโลยีแบบบัส
(Bus
Topology)
โทโพโลยีแบบดาว
(Star
Topology)
โทโพโลยีแบบวงแหวน
(Ring
Topology)
โทโพโลยีแบบเมช
(Mesh
Topology)
1. โทโพโลยีแบบบัส (Bus Topology)
ลักษณะทางกายภาพของโทโพโลยีแบบบัสนั้น จัดเป็นรูปแบบที่ง่าย
ซึ่งประกอบด้วยสายเคเบิลเส้นหนึ่งทีนำมาใช้เป็นสายแกนหลักที่เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลัง
(Backbone)
โดยทุก ๆ
โหนดบนเครือข่ายจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายเส้นนี้
จึงแลดูเหมือนกับราวที่มีไว้แขวนเสื้อผ้า
ข้อดี
มีรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน
ติดตั้งง่าย
เพิ่มจำนวนโหนดได้ง่าย
โดยสามารถเชื่อมต่อเข้ากับสายแกนหลักได้ทันที
ประหยัดสายสื่อสาร
เนื่องจากใช้สายแกนหลักเพียงเส้นเดียว
ข้อเสีย
หากสายเคเบิลที่เป็นสายแกนหลักเกิดชำรุดหรือขาด
เครือข่ายจะหยุดชะงักในทันที
กรณีเกิดข้อผิดพลาดบนเครือข่าย
จะค้นหาจุดผิดพลาดยาก เนื่องจากทุกอุปกรณ์ต่างก็เชื่อมต่อเข้ากับสายแกนหลักทั้งหมด
ระหว่างโหนดแต่ละโหนดจะต้องมีระยะห่างตามข้อกำหนด
2. โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology)
ในความเป็นจริงโทโพโลยีแบบดาวนั้น มีจุดเริ่มต้นจากการเชื่อมต่อเทอร์มินัลกับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ โดยเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง และเทอร์มินัลทุกเครื่องจะเชื่อมต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
ในความเป็นจริงโทโพโลยีแบบดาวนั้น มีจุดเริ่มต้นจากการเชื่อมต่อเทอร์มินัลกับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ โดยเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง และเทอร์มินัลทุกเครื่องจะเชื่อมต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
แต่ในยุคปัจจุบัน
อุปกรณ์ที่นิยมนำมาใช้เป็นศูนย์กลางควบคุมของสายสื่อสารทั้งหมดก็คือ ฮับ (Hub) โดยทุก ๆ
โหนดบนเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงสายสื่อสารผ่านฮับทั้งสิ้น
ซึ่งฮับจะทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ส่ง เพื่อส่งไปยังโหนดปลายทางที่ต้องการ
ข้อดี
มีความคงทนสูง
กล่าวคือหากสายเคเบิลบางโหนดเกิดชำรุดหรือขาด จะส่งผลต่อโหนดนั้นเท่านั้น
ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม โหนดอื่น ๆ ยังคงใช้งานได้ตามปกติ
เนื่องจากมีจุดศูนย์กลางควบคุมอยู่ที่ฮับ
ทำให้การจัดการดูแลง่ายและสะดวก
ข้อเสีย
สิ้นเปลืองสายเคเบิล
ซึ่งต้องใช้จำนวนสายเท่ากับจำนวนเครื่องที่เชื่อมต่อ
กรณีต้องการเพิ่มโหนด
อุปกรณ์ฮับจะต้องมีพอร์ตว่างให้เชื่อมต่อ
และจะต้องลากสายเชื่อมต่อระหว่างฮับไปยังโหนดปลายทาง
เนื่องจากมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ
หากฮับเกิดชำรุดใช้งานไม่ได้
คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับดังกล่าวก็จะใช้งานไม่ได้ทั้งหมด
3. โทโพโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
การเชื่อมต่อแบบวงแหวนนั้น
โหนดต่าง ๆ จะมีการเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณจากฆนดหนึ่งไปยังโหนดหนึ่งต่อกันไปเรื่อย
ๆ จนกระทั่งโหนดแรกและโหนดสุดท้ายได้เชื่อมโยงถึงกัน
จึงเกิดเป็นลูปวงกลมหรือวงแหวนขึ้นมา
ข้อดี
แต่ละโหนดในวงแหวนมีโอกาสส่งข้อมูลได้เท่าเทียมกัน
ประหยัดสายสัญญาณ
โดยจะใช้สายสัญญาณเท่ากับจำนวนโหนดที่เชื่อมต่อ
ง่ายต่อการติดตั้งและการเพิ่ม/ลบจำนวนโหนด
ข้อเสีย
หากวงแหวนชำรุดหรือขาด
จะส่งผลกระทบต่อระบบทั้งหมด
ตรวจสอบได้ยาก
ในกรณีที่มีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดข้อขัดข้อง
เนื่องจากต้องตรวสอบทีละจุดว่าเกิดข้อขัดข้องอย่างไร
4. โทโพโลยีแบบเมช (Mesh Topology)
การเชื่อมต่อเครือข่ายด้วยโทโพโลยีแบบเมช
จัดเป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดอย่างแท้จริง
ที่แต่ละโหนดจะมีลิงก์สื่อสารระหว่างกันเป็นของตนเอง
ข้อดี
เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกันโดยตรงระหว่างโหนด
ดังนั้นแบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารสามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่
ไม่มีโหนดใดมาแชร์ใช้งาน
มีความปลอดภัย
และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลที่สื่อสารกันระหว่างโหนด
ระบบมีความทนทานต่อความผิดพลาด
(Fault-Tolerant)
เนื่องจากหากมีลิงก์ใดชำรุดเสียหาย
ก็สามารถเลี่ยงไปใช้งานลิงก์อื่นทดแทนได้
ข้อเสีย
เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่สิ้นเปลืองสายสื่อสารมากที่สุด
เครดิต : http://networksystemlan.blogspot.com/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น